เมนู

ก็ละความเพลิดเพลินได้, เมื่อคลายกำหนัด ก็ละราคะได้, เมื่อให้ดับ
ก็ละสมุทัยได้, เมื่อสละคืนก็ละความถือมั่นเสียได้1 ดังนี้.
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อภิญฺญาปญฺญา ได้แก่ ปัญญาเป็น
เครื่องรู้ตามสภาวะมีรุปปนลักษณะ คือ รูปมีอันแตกดับไปเป็นลักษณะ
เป็นต้น แห่งสภาวธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ ปัญญานั้นท่านเรียกว่า
อภิญญา เพราะอธิบายด้วยอภิศัพท์มีอรรถว่างามดังนี้ คือ การรู้งาม
ด้วยสามารถแห่งการรู้สภาวะของธรรมเหล่านั้น ๆ.
คำว่า ญาตฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถว่ารู้ ได้แก่ญาณ อัน
มีความรู้เป็นสภาวะ.

21. อรรถกถาตีรณัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ตีรณัฏฐญาณ


คำว่า ปริญฺญาปญฺญา - ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องรู้. จริงอยู่
ปัญญานั้น ท่านเรียกว่า ปริญญา เพราะอธิบายด้วย ปริ ศัพท์ มี
อรรถว่า ซึมซาบไปรอบ ดังนี้คือ ความรู้ที่ซึมซาบไปด้วยสามารถแห่ง
สามัญลักษณะมีอนิจลักษณะเป็นต้น หรือด้วยสามารถแห่งการเข้าถึง
กิจของตน.
1. ขุ.ป. 31/112.

คำว่า ตีรณฏฺเฐ ญาณํ ญาณในอรรถว่าใคร่ครวญ ได้แก่ ญาณ
มีการเข้าไปใคร่ครวญเป็นสภาวะ หรือมีการพิจารณาเป็นสภาวะ.

22. อรรถกถาปริจจาคัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย ปริจจาคัฏฐญาณ


คำว่า ปหเน ปญฺญา - ปัญญาในการละ ความว่า ปัญญา
เป็นเครื่องละวิปลาสทั้งหลายมีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น, หรือธรรม-
ชาติใดย่อมละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้นได้ ฉะนั้นธรรมชาตินั้น ชื่อว่า
ปชหนาปัญญา, อีกอย่างหนึ่ง พระโยคีบุคคลย่อมละนิจสัญญาวิปลาส
ได้ด้วยญาณนั้น ฉะนั้น ญาณนั้นจึงชื่อว่า ปหานํ ญาณํ - ญาณเป็น
เครื่องละนิจสัญญาวิปลาส,
คำว่า ปริจฺจาคฏฺเฐ ญาณํ - ญาณในอรรถว่าสละ ได้แก่
ญาณมีการสละนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น เป็นสภาวะ.

23. อรรถกถาเอกรสัฏฐญาณุทเทส


ว่าด้วย เอกรสัฏฐญาณ


คำว่า ภาวนาปญฺญา - ปัญญาเป็นเครื่องอบรม ได้แก่ปัญญา
เป็นเครื่องเจริญ.